Powered By Blogger

ค้นหาบล็อกนี้

welcome

ยินดีต้อนรับผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ^^''''

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

ไฮเปอร์เท็กซ์และไฮเปอร์มีเดีย

ไฮเปอร์เท็กซ์และไฮเปอร์มีเดีย  Hypertext & Hypermedia
วิวัฒนาการของไฮเปอร์เท็กซ์
จะถือได้ว่า Hypertext ได้ถือกำเนิดมาก่อนที่ Blaise Pascal นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้คิดค้นเครื่องคำนวนสำหรับบวกลบเลขได้สำเร็จเป็นเครื่องแรกของโลก
เพียงแต่ Hypertext ยังเป้นเพียงแค่แนวคิด ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริง หลังจากเทคโนโลยียังไม่สนับสนุน และรองรับการทำงานได้นั่นเอง
ปี ค.ศ. 1945 Vannevar Bush นักปราชญ์ด้านวิทยาศาตร์ด้คิดเครื่องมือสำหรับกระบวนการเรียนรู้และความจำของมนุษย์ที่จำเป็นต้องมีการบันทึกจัดเก็บและติดต่อสื่อสารที่มีความรวดเร็ว โดยเรียกเครื่องมือนี้ว่า “MEMEX (Memory Extender)
ปี ค.ศ. 1965 ภายหลังที่มีคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง Doug Engellart และ Ted Nelson จึงได้คิดนำเครื่องมือ MEMEX มาประยุกค์ใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยนำข้อความและตัวอักษรมาทำการเชื่อมโยงระหว่างกัน และเรียกว่า “Hypertext” ซึ่งได้กล่าวในบทความที่ลงตีพิมพ์เรื่อง “The Literacy Machines
ปี ค.ศ. 1985 บริษัทซีร็อก ได้คิดค้นไอเปอรืเท็กซ์แบบใหม่ จากเดิมที่เคยเชื่อมได้เฉพาะข้อความหรือตัวอักษรเท่านั้น ให้สามารถนำรูปภาพมาใช้ในการประกอบการเชื่อมโยงได้ ยังเพิ่มขีดความสามรถในการแก้ไข ปรับปรุง แลดงผล และเชื่อมโยงบนระบบเครื่องข่ายได้อย่างทั่วถึงโดยเรียกเครื่องมือนี้ว่า Notecard
ปี ค.ศ. 1987 บริษัทแอปเปิลแมคอินทอชได้คิดค้นมือที่ชื่อว่า  Hypercard ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างอ็อบเจ็คต่างๆและยังมีภาษาสคริปในการช่วยทำงานอีกด้วย
ปี ค.ศ. 1991 Tim Berner-Lee นักพัฒนาระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ระบบจัดการเอกสาร สำหรับใช้งานร่วมกันบนระบบเครื่องข่าย ส่วนเครื่องมือที่ใช้สำหรับจัดเก็บและแสดงข้อมูลประเภทตัวอักษรแต่ละหน้าเรียกว่า Text Browser ส่วนเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างข้อความด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language) เรียกว่า Text Editor HTML โดยอาศัยการติดต่อสื่อสารผ่านที่โปรดตคอลบนระบบเครื่องข่ายที่เรียกว่า HTTP (Hypertext Transfer Protocol)
ความหมายไฮเปอร์เท็กซ์และไฮเปอร์มีเดีย
แต่ละมุมมองของแนวการพัฒนาไฮเปอร์เท็กซ์นั้นมีหลากหลายดังนี้
Ted Nelson  ความผสมผสานระหว่างข้อความและภาษาธรรมชาติกับกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธุ์  โดยมีลักษณะโครงสร้างที่แน่นอน ที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา และไม่เรียงลำดับตามแนวตรง
Conklin ความสัมพันธ์ของอ็อบเจ็คต่างๆ ภายในฐานข้อมูลมาเชื่อมโยงระหว่างกัน
Begoray เป็นเพียงระบบเครื่อข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศที่ใช้เผยแพร่และนำเสนอเท่านั้น
ไฮเปอร์เท็กซ์ คือ ข้อความหรือกลุ่มของข้อความที่ถูกเชื่อมดยงเข้าด้วยกันโดยมีการนำเสนอแบบปฏิสัมพันธ์ (Interaction)  ข้อความที่ใช้เป็นจุดเชื่อมโยงจะมีลักษณะพิเศษกว่าข้อความอื่น เช่น ตัวหนา ขีดเส้นใต้ เป็นต้น
ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ คือ การนำเอาไฮเปอร์เท็กซ์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ ในระบบมัลติมีเดีย ได้นำหลักการของไฮเปอร์เท็กซ์มาเป้นส่วนของการนำเสนอจากเดิมที่มีการเชื่อมดยงเฉพาะข้อความเท่านั้น ก็เปลี่ยนมาใช้ภาพนิ่ง เสียง และวีดีโอ โดยเรียกกันโดยทั่วไปว่า ไฮเปอร์มีเดีย HyperMedia

องค์ประกอบหลักของไฮเปอร์เท็กซ์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ


พอยต์ (Point) หมายถึง กลุ่มคำ หรือ วลี ที่เป็นข้อความพิเศษที่แสดงว่ามีการเชื่อมโยงเกิดขึ้น ข้อความเล่านี้จะมีลักษณะแตกต่างออกไป เช่น ตัวหนา ขีดเส้นใต้ การเน้นสี หรือตัวเอียง บางครั้งเรียกว่า สมอเชื่อมโยง (Link Anchor) หมายถึง จุดหรือหลักสำหรับการเชื่อมโยงข้อมูล
โหนด (Node)  คือ กลุ่มข้อมูลที่สัมพันธ์กันหรือเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งบางครั้งเรียกโหนดว่า การ์ด (Card) 
ลิงค์ (Link)  คือ  การเชื่อมโยงเอกสารจากต้นทางไปปลายทาง โดยมีกลไกลช่วยนำทางไปยังเป้าหมายได้ทั่วทั้งระบบ การเชื่อมโยงภายใน (Internal Link) การเชื่อมโยงเว็บเพจภายในเว็บไซต์เดียวกัน เชื่อมโยงระหว่างหน้า เชื่อมโยงภายในหน้าเดียวกัน การเชื่อมโยงภายนอก (External Link) การเชื่อมโยงเว็บไซต์อื่น  สามารถแบ่งลิงค์ออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
ลิงค์ชนิดอ้างถึง (Referantial Link)  เชื่อมโยงด้วยการอ้างถึงโดยตรงระหว่างจุดสองจุด (Point หรือ Node) จากจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุ
ลิงค์ชนิดแผนภูมิ (Organization Link)  คล้ายกับลิงค์ชนิดอ้างถึง ต่างกันที่เป็นการเชื่อมกันระหว่างโหนดในลักษณะที่เป็นโครงสร้างไฮราคี่
ลิงค์ชนิดคีย์เวิร์ค (Keyword Link)  เป็นการนำเอากลุ่มคำหรือวลีต่างๆ ที่มีความหมายและ ความสัมพันธ์กันมาเชื่อโครงกันด้วยวิธีการเดียวกันกับลิงค์แบบอื่นๆ
โครงสร้างไฮราคี่ (Hierarchies Structure)
เป็นการการผสมผสานระหว่างโครงสร้างระบบไฮเปอร์เท็กซ์ 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน กับ ชนิดที่มีโครงสร้างที่แน่นอน เนื้อหาทั้งหมดแบ่งออกเป็นเนื้อหาย่อยๆ ในลักษณะของแผนภูมิแบบลำดับ หรือแบบโครงสร้างต้นไม้ โครงสร้างแลลนี้สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท
-                   โครงสร้างไฮราคี่แบบจำกัดความสัมพันธ์ Strict Hierarchy
-                   โครงสร้างไฮราคี่แบบไม่จำกัดความสัมพันธ์ Compromised Hierarchy
-                   โครงสร้างไฮราคี่ชนิดซ้อน Overlapping Hierarchy
โครงสร้างไฮราคี่ชนิดที่มีโครงสร้างแน่นอน (Structured Hypertext)
      สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
-                   โครงสร้างชนิดเรียงลำดับ (Sequential Hypertext) มีการจัดเรียงเนื้อหาไว้อย่างเป็นระเบียบ การเข้าถึงข้อมูลในแต่ละโหนดจำเป็นต้องผ่านดหนดที่อยู่ก่อนหน้าไปตามลำดับ ยกเว้นโหนดแรกหรือโหนดเริ่มต้น
-                   โครงสร้างชนิดจดหมาย (Sequential Hypertext for Mail) แบบโครงสร้างต้นไม้
โครงสร้างไฮราคี่ชนิดที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน (Unstructured Hypertext)
      เป็นการเชื่อมโยงแบบสุ่มจากโหนดหนึ่งไปอีกโหนดอื่นๆ ซึ่งอาจจะมากกว่าหนึ่งโหนดโดนเนื้อหาภายในโหนดจะมีการจัดเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบ

ประโยชน์ของไฮเปอร์เท็กซ์
         นอกจากบริการจัดการ เชื่อมโยง และติดต่อข้อมุลเพื่อสื่อความหมายอย่างมีปฏิสัมพันธ์ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแล้วยังมีประโยชน์อื่นๆ เช่น   สามารถเลือกใช้เส้นทางที่เหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว
-      ควบคุมเส้นทางได้จาก Navigator ของระบบ  สามารถค้นหาและติดตามข้อมูลที่เคยเปิดได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ได้แก่ บุคมาร์ก Bookmark และระบบเชื่อมโยงลัด Quick Link   สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้
-                  สามารถนำเสนดเนื้อหาผ่านสื่อสาธารณะได้
-                    ปัญหาและแนวทางการแก้ไขไฮเปอร์เท็กซ์
ปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดจากการซับซ้อนและความไม่เป็นระเบียบของระบบ ทำให้ผู้ใช้เสียเวลาในการค้นหาข้อมูลเป็นเวลานาน จึงได้พยายามค้นหาวิธีใน การนำเสนอ (Presentation) และการนำทาง (Navigation)  ให้เหมาะสมกับระบบ เรียกวิธีการนี้ว่า “Adaptive Hypertext/Hypermedia System”
การนำเสนอ (Presentation)
คอนดิชันแนลเท็กซ์ Conditional Text เป็นวิธีการแสดงกลุ่มของข้อความหรือตัวอักษรที่กำหนดเงื่อนไขตามกลุ่มเป้าหมายของผู้ใช้เป็นสำคัญ อาจจะเป็น ผู้ที่มีทักษะและไม่มีทักษะ
สเตรทเท็กซ์ Stretchtext คือ ข้อความหรือกลุ่มคำที่ใช้สำหรับอธิบายข้อความที่ต้องการขยายความ โดยเลือกที่ข้อความจะปรากฏคำอธิบายภายในกรอกสี่เหลี่ยมขึ้นโดยทั่วไปเรียกว่า เมนูป็อบอัพ Menu Popup
เพจวาเรี่ยนท์ Page Variants วิธีการแสดงหน้าเอกสารที่มากกว่า 2 หน้าขึ้นไป โดยแต่ละหน้าของเอกสารจะแสดงข้อมูลไม่เหมือนกัน ตามแต่ละดับความแตกต่างหรือรูปแบบที่ใช้งาน โดยระบบจะแสดงหน้าเอกสารที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้งาน
แฟรกเมนท์วาเรี่ยน Fragment Variants วิธีการแยกส่วนข้อหน้าเอกสาร ซึ่งทุกหน้าจะถูกแยกออกเป้นส่วนๆ ตามจำนวนที่ต้องการพร้อมกับบรรจุข้อมูลลงไปในแต่ละชิ้นส่วน
เฟรมเบส Frame-Based—เป็นวิธีการแบ่งช่อง (เฟรม) ของหน้าเอกสาร โดยกำหนดพื้นที่ของหน้าเอกสารออกเป็นเฟรมๆ เพื่อใช้แสดงข้อมูลของเอกสารปลายทางตามที่ได้เชื่อมโยงไว้ ให้มาปรากฏอยู่ภายในช่องตามที่ต้องการ
ปัญหาและแนวทางการแก้ไขไฮเปอร์เท็กซ์
การนำทาง (Navigation)
แอนโนเตชั่น Annotations วิธีการเชื่อมโยงโดยใช้คำอธิบายประกอบ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของข้อความหรือไอคอนที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างได้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงข้อมูลก่อนที่จะตัดสินใจเลือกเส้นทางนี้
ออเดอร์ริงหรือลิงค์ซอสติง Order or Link Sorting โดยการเรียงลำดับตามเชื่อมโยงได้ใหม่ โดยส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้กับระบบฐานข้อมูลหรือปัญญาประดิษฐ์ เพื่อช่วยในการค้นหาและเชื่อมโยงไปหาข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบช่วยเหลือ หรือเครื่องมือค้นหา
ไดเร็กไกด์แดนซ์ Direct Guildance วิธีการเชื่อมโยงด้วยตัวช่วยนำทาง โดยที่ระบบสามารถนำทางผู้ใช้ไปยังปลายทางไปยังเส้นทางตามเส้นทางที่ได้อย่างไว้อย่างเป็นขั้นตอน
ไฮด์ดิ้ง Hiding ทำการเชื่อมดยงข้อมูลโดยการซ่อนข้อมูล เพื่อไม่ให้แสดงข้อมูลทั้งหมดโดยจะแสดงข้อมูลเพียงบางส่วนเท่านั้น หากผู้ใช้ต้องการดูรายละเอียด ก็สามารถเลือกข้อความหรือไอคอนเพื่อขยายส่วนของข้อมูลที่ซ่อนไว้ให้ปรากฏขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น การใช้งานสารบัญ ขณะเดียวกันเมื่อเลือกที่หัวข้อเดิมจะทำให้ข้อความถูกซ่อนอีกครั้งหนึ่ง
แมพพิ่ง Mapping วิธีการใช้แผนที่แสดงการเชื่อมโยง เพื่อให้ผู้สามารถเข้าถึงส่วนต่างๆ ภายในระบบได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
สรุป
            การผสมผสานระหว่างข้อความหรือภาษาธรรมชาติกับกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ โดยมีลักษณะโครงสร้างแบบลำดับชั้นที่แน่นอน ที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา และไม่เรียงลำดับตามแนวตรง และเมื่อนำมาผสมผสานกับมัลติมีเดียว โดยการเพิ่มคุณลักษณะของภาพ เสียง และวีดีดอเข้าด้วยกัน เรียกว่า ระบบไฮเปอร์มีเดีย อาศัยองค์ประกอบพื้นฐานของไฮเปอร์เท็กซ์ทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ พอยต์ โหนด ลิงค์ และโครงสร้างไฮราคี่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น